19 July 2023

Articles

จาก BIM สู่ Digital Twin ตอนที่ 2

Software ที่ใช้ Operate BIM ในลักษณะ Digital Twin ไม่ใช่ Software เพื่อสร้าง File BIM
สำหรับทั้งผู้ประกอบวิชาชีพและเจ้าของโครงการบางครั้งพอได้ยินคำว่าการใช้ BIM มาเพื่อบริหารอาคาร จะคิดถึงการที่ต้องลงทุนในระบบ Software ราคาสูงที่ต้องใช้ในการเขียน BIM File หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพสูง ในความเป็นจริงแล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในระดับดังกล่าว เพียงแต่ต้องมีความเข้าใจเรื่อง BIM มีศักยภาพในการจัดเก็บและ มี Software ด้าน Digital Twin เพื่อใช้ประโยชน์เท่านั้น

 

Software ด้าน Digital Twin คือ Software ที่นำ BIM File (ซึ่งในที่นี้ถือว่าเป็นฐานข้อมูลประเภทหนึ่ง) มาเป็นข้อมูลแกนกลางไปเชื่อมโยงกับ ฐานข้อมูลอื่นๆ ในระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการสินทรัพย์ อาคาร สาธารณูปโภค หรือเมือง และนำไปใช้ประโยชน์ต่อ เปรียบได้กับ Software ที่ใช้ BIM File ไปทำจำลองสถานการณ์ ด้าน พลังงาน หรือ ด้านจราจร หรือไป ทำ Rendering ให้มีความสวยงาม เป็นต้น Software ดังกล่าวแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับ Software ที่ใช้ในการสร้างหรือปรับเปลี่ยนแก้ไข BIM File ในกรณีที่เป็นงานออกแบบ ก่อสร้าง อันเป็น Software ที่ผู้ใช้ BIM ในประเทศไทยมีความคุ้นเคยอย่างดี Software ในลักษณะนี้จะไม่สามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง BIM File ได้ ดังนั้นเจ้าของสินทรัพย์ไม่ได้มีความจำเป็นต้องลงทุน Software ในการสร้าง BIM เหมือนกับธุรกิจออกแบบก่อสร้าง แต่เจ้าของต้องลงทุนด้านอื่นๆ ที่จะมีการกล่าวถึงต่อไป

สาระสำคัญของ Software ด้าน Digital Twin ที่มี BIM เป็นแกนกลาง คือ “การเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลหรือแหล่งข้อมูลของ Data ทุกประเภท” Software ลักษณะนี้ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อ ที่เจ้าของกิจการหรือ  ผู้บริหารองค์กรสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมได้

 

ทั้งนี้ศักยภาพการเชื่อมโยงฐานข้อมูลหรือแหล่งข้อมูล โดยหลักจะประกอบด้วยการเชื่อมโยงดังต่อไปนี้

 

  1. การเชื่อมโยงกับ ระบบ Enterprise Resource PlanningEnterprise Resource Planning หรือ ERP คือ ระบบที่ใช้ในการบริหารธุรกิจโดยตรง เป็นการบันทึกด้านบัญชี การเงิน สินทรัพย์ และสถานะขององค์กร ที่เป็นแกนกลางทางธุรกิจ ในกรณีที่ องค์กรเป็นเจ้าของสินทรัพย์ หรือมีการเช่าสินทรัพย์ใดๆ โดยเฉพาะที่เ็ป็นอสังหาริมทรัพย์ ข้อมูลของสินทรัพย์ดังกล่าวจะปรากฎอยู่บน ERPการบันทึกข้อมูลของสินทรัพย์ลงใน ERP นั้นมีได้ตั้งแต่ประเด็นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับแบบก่อสร้าง เช่น วันที่สินทรัพย์นั้นเข้าระบบ หรือ ชื่อผู้เช่า หรือ ราคาที่ซื้อมา หรือ ค่าเสื่อมสินทรัพย์นั้นๆ เป็นต้น ซึ่ง ข้อมูลลักษณะนี้ Digital Twin จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง แต่สามารถทำให้ปรากฎได้ เมื่อดูจาก Digital Twin อันเป็นความสะดวกอีกลักษณะหนึ่ง เช่น เมื่อดู Digital Twin และผู้เช่ามีความสนใจห้องเช่าเพิ่มเติม และกดดูทาง Digital Twin จะสามารถทราบได้ทันที ว่าห้องที่สนใจนั้นใครเช่าอยู่ หรือจะหมดสัญญาเช่าเมื่อใด เป็นต้น หากเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแบบก่อสร้าง หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ Digital Twin (ที่มี BIM เป็นแกนกลาง) จะมีประโยชน์ อย่างมากตัวอย่างคือ กรณีที่องค์กร มีอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า และมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ตลอดเวลา การปรับเปลี่ยน BIM Model ให้ตรงกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริงของอาคาร จะทำให้พื้นที่ขาย ที่ปรากฎใน ERP ถูกต้องตรงกัน ตรวจสอบได้และมีการบันทึกเส้นทางการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา.
  2. การเชื่อมโยงกับ IoTอุปกรณ์ ioT ที่มีการติดตั้งในสภาพแวดล้อมทางกายภาพแบ่งได้เป็นสองลักษณะ ได้แก่อุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลออกมาได้อย่างเดียว – หมายถึงอุปกรณ์ที่มีหน้าที่อ่านข้อมูลบันทึกข้อมูลแล้วส่งเข้าระบบกลาง ตามที่ถูกสั่งการ ในที่นี้คือการส่งไปยังจุดที่ผู้ออกแบบระบบ Digital Twin เป็นคนกำหนด เพื่อนำข้อมูลไปใช้อุปกรณ์ที่ถูกสั่งให้ดำเนินการใดๆ ได้ – หมายถึงอุปกรณ์ที่นอกจากจะทำหน้าที่อ่านข้อมูลและส่งข้อมูลออกไปแล้ว ยังสามารถดำเนินการรับข้อมูลและแปลงเป็นคำสั่งให้ดำเนินการใดๆ ได้ เช่นเปิดปิดสวิชต์ หรือควบคุมในลักษณะอื่นที่ซับซ้อนขึ้นอุปกรณ์ IoT ทั้งหมด จะทำให้ การเชื่อม BIM กับ Digital Twin นั้นกลายสภาพมาเป็น ศูนย์บัญชาการ หรือ Command Center หรือที่ในประเทศไทยนิยมเรียกกันว่า War Room เนื่องจากข้อมูลที่จากอุปกรณ์ IoT ที่ส่งเข้ามาที่ส่วนกลางและอำนาจการควบคุมอุปกรณ์ใดๆ ในระบบ สามารถดำเนินการได้ผ่าน Model ของ Digital Twin หากต้องการดูรายละเอียดเจาะลงไปลึกขึ้นก็สามารถกดดู รายละเอียดของอุปกรณ์ ในแต่ละชิ้นที่มีการบันทึกข้อมูลไว้ สถานะของการใช้งาน รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อมโยงและเปิดสู่สาธารณะ เช่น อัตราค่ามลพิษ เป็นต้น.
  3. การเชื่อมโยงกับ เอกสารที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์นั้น มีเอกสารที่เป็นลักษณะของกระดาษอยู่หลายแบบ เช่น สัญญา หรือ ภาพถ่าย หรือ แม้แต่แบบที่เป็นลักษณะของ Schematic Diagram ต่างๆ รวมถึงคู่มือการใช้อุปกรณ์ เอกสารเหล่านี้ มาในรูปแบบของ PDF หรือ JPEG ที่สามารถพิมพ์ได้ในสภาวะปกติการค้นหาเอกสารดังกล่าวต้องผ่านการเข้าไปใน Drive หรือ Directory ของแฟ้มเอกสารในคอมพิวเตอร์ ที่หากผู้ที่ต้องการใช้ไม่เข้าใจการเก็บเอกสาร ก็จะค้นหาได้ยาก แต่ด้วยระบบ Digital Twin ผู้ที่ต้องการค้นหาเอกสารดังกล่าว จะสามารถทำได้โดยสะดวก คือการเข้าไปใน Model แล้วกดในสิ่งที่ต้องการเพื่อหาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวัตถุชิ้นนั้น.
  4. การเชื่อมโยงกับ ผู้รับผิดชอบในองค์กรหนึ่ง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอาคารหรือสาธารณูปโภคแห่งหนึ่ง อาจมีหลายคน และ ในกรณีที่เกิดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ พื้นที่ หรือวัตถุ หรือ อุปกรณ์ใดๆ ที่ต้องมีการสื่อสารกัน และต้องการหาผู้รับผิดชอบนั้นๆ การมี Digital Twin จะสามารถทำให้ บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดติดตามค้นหาเพื่อให้ได้ประสานงานกันง่ายขึ้น และสามารถเป็น Platform ในการ เปิดขึ้นเพื่อใช้ในการประชุมร่วมกัน บนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน

 

การเชื่อมปรับเปลี่ยนแบบให้ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงเสมอ ใน Digital Twin

 

ประเด็นที่จะต้องถูกชี้แจงให้ชัด คือประเด็นเรื่องการปรับปรุงแก้ไข BIM File ให้มีความถูกต้องตรงกันกับสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง คำถามคือ หากจะดำเนินการดังกล่าวก็ต้องใช้ Software ที่มีศักยภาพในการปรับปรุงแก้ไข หรือสร้าง BIM File ใช่หรือไม่ คำตอบคือ ใช่ แต่โดยการบริหารแล้ว บุคคลที่ทำหน้าที่ดังกล่าวไม่จะเป็นต้องเป็นคนในองค์กร องค์กรสามารถว่าจ้างบุคคลภายนอกให้ดำเนินการได้ และเป็นหน้าที่ของบุคคลภายนอกที่จะต้องไปซื้อหา Software ดังกล่าวมาดำเนินการ ดังนั้น สำหรับองค์กร ที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบ ตลอดเวลา และมีอาคารจำนวนมาก เท่านั้น จึงจะคุ้มค่ากับการลงทุนดังกล่าว

 

แต่อีกด้าน Software ด้าน Digital Twin ที่มี BIM File เป็นแกนกลาง เป็นสิ่งที่องค์กรใช้ในการดำเนินการบริหารจัดการองค์กร ตลอดเวลา ในทุกวัน องค์กรควรมีการลงทุนใน Software ลักษณะดังกล่าว

การเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากกรอบของการบริหารจัดการสินทรัพย์

 

นอกเหนือไปจากการบริหารจัดการสินทรัพย์ หรือบำรุงรักษาที่เป็นผลประโยชน์โดยตรงจากการใช้ Digital Twin แล้ว ยังมีประโยชน์ในการดำเนินการโดยตรงอื่นๆ อีก เช่น ด้านการบริหารความปลอดภัยหรือป้องกันภัยพิบัติ (Safety and Security) เช่นการเชื่อมระบบกับ กล้องวงจรปิด โดย Digital Twin สามารถระบุตำแหน่งของกล้องวงจรปิดใน Model ได้ และส่งภาพที่มีการถ่ายในกล้องดังกล่าว เข้ามาใน Digital Twin เพื่อแสดงผลได้ 

หรืออีกด้านหนึ่ง หากมีการระบุภาพจากกล้องก็สามารถทำให้ Digital Twin ระบุตำแหน่งว่า ภาพดังกล่าวมาจากกล้องตัวใดได้ และในประเด็นเรื่องของสัญญาณเตือนภัย หากมีการแจ้งเตือนขึ้น Digital Twin สามารถแสดงห้อง หรือจุดดังกล่าวให้เห็นได้ทันที เพื่อให้ เป็นเส้นทางสำหรับนักดับเพลิงให้เข้าไปได้อย่างถูกต้อง 

 

  • Data Analytics

เมื่อสะสมข้อมูลต่อเนื่องและทำการวิเคราะห์ จะทำให้เกิดการค้นพบประเด็นใหม่ ที่ใช้ในการพัฒนาปรับปรุงองค์กรได้ตรงประเด็นบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เช่น ในกรณีของการประหยัดพลังงานของระบบบำบัดน้ำเสียกลาง ที่หากไม่มีข้อมูลพื้นฐานใดๆ ระบบต้องเปิดดำเนินการตามเวลา แต่หากมีข้อมูลว่าปริมาณน้ำเสียที่เข้ามาไม่เท่ากัน และให้ Digital Twin มีการสะท้อนภาพดังกล่าว จะทำให้ระบบสามารถปรับแนวทางการเปิดปิดเครื่องจักรได้สะท้อนกับปริมาณน้ำที่ไหลเข้า และอาจทำให้ประหยัดไฟฟ้าได้อย่างมีนัยยะสำคัญ เป็นต้น

 

  • Artificial Intelligence สำหรับ Building Environment

ที่สุดแล้วเมื่อข้อมูลถูกสะสม (Data Analytics) และให้ Computer มีการเรียนรู้ (Machine Learning) ระบบก็จะถูกพัฒนาให้ฉลาดขึ้นและดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น และที่สุดระบบจะทำงานด้วยตัวเองได้ แนะนำแนวทางต่างๆ ได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหา หรือ กลายมาเป็น Artificial Intelligence ที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่าน Digital Twin ที่มี BIM เป็นพื้นฐานกลางนั่นเอง

 

ทั้งนี้หนทางที่จะพัฒนาต่อ จะสังเกตุได้ว่า BIM จะกลายเป็นเหมือนรากฐานที่สำคัญสำหรับการสร้าง Automation ใน Built Environment ที่เราเคยได้ดูจากภาพยนต์ Sci-Fi ที่มีผู้ช่วยเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความฉลาดล้ำลึก และสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีการจัดการวางโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลทางกายภาพที่ดีที่สุด ก็คือบนพื้นฐานของ BIM Technology

Share this article :

We use cookies to ensure that we give you the best experience on our website. If you continue to use this site we will assume that you are happy with it. You can learn more details in the Privacy Policy.